วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่างมุมกล้อง

มุมกล้องและการเลื่อนกล้อง






(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.youtube.com/watch?v=zn3yWgt__04&hd=1และ https://www.youtube.com/watch?v=jsEWOtADVYk&hd=1)

ตัวอย่างการแสดงละคร

ตัวอย่างการแสดงละคร






(ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.youtube.com/watch?v=7jNkGH4X4Tg)

เทคนิคการแสดงพื้นฐาน: ตอนที่ 3 เทคนิคการเขียนบทละคร

ตอนที่ 3
เทคนิคการเขียนบทละคร

  เทคนิคการเขียนบทละคร
         การสร้างบทละครนั้นเป็นความสามารถที่ต้องอาศัยทักษะและความคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่บุคคลหลายคนก็สามารถจะเขียนบทละครได้ แม้แต่ตัวผู้เรียนเอง หรือศิลปินในท้องถิ่นก็สามารถสร้างบทละครที่มีคุณภาพโดยสะท้อนความคิด ศิลปะ และวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้เช่นกัน ละครจึงเป็นกิจกรรมที่ไม่มีกฎเกณฑ์เฉพาะตายตัว อาทิ ดนตรีประกอบการแสดง อาจเป็นดนตรีพื้นบ้านเพียงชิ้นเดียว เช่น ขลุ่ย แคน หรือเพลงที่ผู้เขียนชอบนำมาประกอบการเล่าเรื่องก็ได้ ละครจึงเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ทำงานร่วมกัน สามารถทดลองค้นคว้าหาเรื่องราวที่น่าสนใจมานำเสนอต่อผู้ชมอยู่ใหม่ ๆ ได้เสมอ

รูปแบบในการสร้างบทละคร

     การสร้างบทละครมีวิธีการสร้างเรื่องดำเนินเรื่องหลายหลายรูปแบบ ดังนี้

                               1. บทละครที่เป็นแบบฉบับ (Tradition Play) จะใช้แสดงในโรงละคร เรื่องราวที่นำเสนอมาจากวรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน ถ้าเป็นวรรณกรรมเรื่องยาว เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา พระลอ ผู้ประพันธ์บทก็ต้องเลือกตอนที่น่าสนใจมาเสนอ จากนั้นเปิดเรื่องด้วยฉากที่นำเสนอตามแบบฉบับคือภาพหรือเหตุการณ์ สถานการณ์ของเรื่อง แนะนำตัวละครที่เป็นตัวเอกพร้อมทั้งข้อมูลที่จะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรมต่อ ๆ มาอย่างรวบรัดชัดเจน โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

- เหตุการณ์นั้นมีความสัมพันธ์ต่อเหตุการณ์อื่น ๆ ของเรื่องหรือไม่
- เหตุการณ์นั้นมีคุณค่า มีความจำเป็นและสัมพันธ์กับละครทั้งเรื่องอย่างไร
- เหตุการณ์ดังกล่าวเสริมสร้าง เน้นจุดมุ่งหมาย ประโยคหลักของเรื่องเช่นใด
- เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดแรงกระตุ้น ความสะเทือนใจต่อตัวละครเพียงใด
- เหตุการณ์นั้นก่อให้เกิดปฏิกิริยาการค้นพบ อุปนิสัยและการกระทำของตัวละครอย่างไร
           เมื่อแยกแยะเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้ว   ผู้เขียนบทก็จะต้องสามารถสร้างบรรยากาศ อารมณ์ของเรื่อง ให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์    และหาผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่มีต่อผู้ชมว่า ควรดำเนินเรื่องอย่างไรจึงจะน่าติดตามหรือทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วม มีความประทับใจในการแสดง เสมือนหนึ่งว่าได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริง ๆ

                            2. บทละครที่ไม่เป็นแบบฉบับ (Non Illusion Style) ผู้เขียนบทละครควรเน้นที่การเล่าเรื่อง (Story Theatre) จินตนาการ (Imagination) การเริ่มเรื่องจะเป็นการเล่าเรื่องโดยใช้ลีลาท่าทางประกอบดนตรี การขับร้องเพื่อให้ผู้ชมทราบกติกาการนำเสนอ ต่อจากนั้นก็ใช้วิธีประสานเรื่องราวต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อทำให้แนวคิดของเรื่องมีคุณค่าให้ประโยชน์แก่ผู้ชม การเขียนบทประเภทนี้จึงเน้นที่บรรยากาศ รูปแบบการนำเสนอ การเรียบเรียงเรื่องราว กฎเกณฑ์ในการเข้าสู่เรื่องและออกจากเรื่องเมื่อเรื่องหนึ่งจบลง

                             3. บทละครที่เด็กมีส่วนร่วมแสดง (Partiicipatory Theatre) การเขียนบทประเภทนี้จะต้องเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดง เช่น ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัวละครที่คอยช่วยเหลือตัวละครในเรื่อง ช่วยเป็นฉาก ถืออุปกรณ์ประกอบฉาก ผู้ชมจะนั่งดูล้อมเป็นวง ทำให้ละครกลับเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็ก ๆ ได้รับ ผู้ชมจะเชื่อบทบาทและปฏิบัติตามที่ตัวละครสั่ง


                              4. บทละครเพื่อการศึกษา (TIE ย่อมาจาก Theatre In Education) เป็นละครเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความคิดของเยาวชนในโรงเรียน ก่อให้เกิดความคิดเชิงวิจารณ์นำไปสู่การพูดคุย การเขียนบทจะแบ่งออกเป็นฉาก ๆ แล้วใส่โครงเรื่องตัวละครประมาณ ๕-๖ คนลงไป ประเด็นที่นำเสนอมักเป็นปัญหาการขัดแย้ง เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์จริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร

                                5. บทละครจากการรวบรวมข้อมูลและเทคนิคละครสด (Collective Improvisation Theatre) การจะได้บทละครจากการแสดงละครสดนั้น จะต้องสนใจการทำงาน

                1.คายความเครียดหรือบางครั้งก็กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ทำให้มนุษย์มีความสุข กระตือรือร้นในการดำเนินชีวิต

               2. สมอง ให้คุณค่าทางสติปัญญา โดยการดูละครแล้วกลับมาพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับตนเอง เกี่ยวกับมนุษยชาติและเกี่ยวกับสังคมส่วนรวม

                3. จิตใจ ความสัมพันธ์ของศิลปะการละครกับจิตใจของมนุษย์มีมาแต่โบราณ จะเห็นได้ว่าการละครตะวันออกและตะวันตก ล้วนถือกำเนิดจากพิธีบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อขอพระ และให้เทพเจ้าบันดาลสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์ปรารถนา
                     หรือถ้าจะให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก็พิจารณาได้จากละครเวที ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในละครเวที มีลักษณะเหมือนชีวิตจริง ๆ ของมนุษย์ คือเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วก็ผ่านเลยไป ผู้ชมไม่สามารถหยุดพักเหมือนการอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ เช่น เมื่อรู้สึกเบื่อก็สามารถปิดหนังสือโทรทัศน์ได้ แต่ผู้ชมละครจะต้องนั่งอยู่ในโรงละคร เพื่อร่วมรู้เห็นการกระทำ (Action) ของตัวละครจนจบเรื่อง จะให้ละครหยุดพักการแสดงเมื่อเราไม่อยากชมและถ้าจะชมต่อ ก็จะให้เริ่มแสดงตรงช่วงนั้น ๆ ต่อเนื่องไปย่อมไม่สามารถจะกระทำได้ เพราะละครแม้จะเป็นผู้แสดงชุดเดียว บทเดียวกัน แต่ต่างช่วงเวลา การแสดงย่อมจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียวทั้งหมด ละครเวทีจึงมีลักษณะเหมือนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ๆ
                      ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าละครสามารถให้ได้ทั้งความบันเทิง กระตุ้นเร้าความคิด ให้การศึกษา ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน สอนบทเรียน ให้ความฝันที่คนดูปรารถนาและเป็นเสมือนโลกที่งดงาม ให้ผู้คนหลีกหนีจากชีวิตที่สับสน ได้มาพักสมองผ่อนคลายความเครียดได้ชั่วขณะหนึ่งของนักแสดงตามหัวข้อที่มอบหมายให้แสดง และนำข้อมูลเรื่องราวกลับมาสู่กลุ่มผู้แสดงละครเพื่อสร้างตัวละครและเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามแผนงานที่กำหนด ตัวละครและเหตุการณ์ต่าง ๆ ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและค้นหาจุดเปลี่ยนจากบทบาทหนึ่งไปสู่อีกบทบาทหนึ่ง อารมณ์ ความรู้สึกของนักแสดงและของตัวละครที่ต่อเนื่องถ่ายทอดกันได้ดี จะทำให้ตัวละครน่าสนใจและมีชีวิตชีวาน่าเชื่อมากขึ้น


(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.gotoknow.org/posts/292945)



เทคนิคการแสดงพื้นฐาน: ตอนที่ 2 บทบาทหน้าที่

ตอนที่ 2
บทบาทหน้าที่

บทบาทและหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ในการสร้างละคร
        ทีมงานสร้างงานละครจะประกอบด้วยบุคคลที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ มากมายหลายสาขา ซึ่งแต่ละฝ่ายล้วนมีบทบาทสำคัญในอันที่จะทำให้การจัดการแสดงละครประสบผลสำเร็จ ซึ่งความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างทีมงานทุกฝ่าย นับเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้การแสดงละครสัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบ ละเว้นการก้าวก่ายงานของผู้อื่น มีน้ำใจรู้จักให้อภัยต่อกัน
        บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการแสดงละครที่สำคัญ ประกอบด้วยบุคคลต่างๆ ดังนี้

                      1. ผู้อำนวยการแสดง (Producer) คือ ผู้จัดหรือหัวหน้าคณะในการจัดแสดงละครแต่ละครั้ง เป็นผู้กำหนดนโยบาย รูปแบบการแสดง เรื่องที่จะนำมาแสดง จัดสรรหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ดูแลงบประมาณ เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ

                        2. ผู้กำกับการแสดง (Director) ควบคุมผู้แสดงให้แสดงให้สมบทบาทตามบทที่กำหนดไว้ จัดองค์ประกอบต่าง ๆ ของละครให้มีความสมจริง

                         3. ผู้กำกับเวที (Stage Manager) เป็นผู้รับผิดชอบต่อจากผู้กำกับการแสดง เฉพาะในเรื่องการแสดงบนเวที มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของเวที เป็นผู้เดียวที่สั่งให้การแสดงเริ่มหรือหยุด ติดต่อสั่งงานเกี่ยวกับไฟแสง เสียงประกอบ ตลอดจนการเปิดปิดฉากละคร

                         4. ผู้เขียนบท (Play Wright) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนบทละคร สร้างโครงเรื่อง คำพูดและเหตุการณ์ ผู้เขียนบทละครนับเป็นหัวใจสำคัญของการละคร ละครจะสนุกได้รับผลดีเพียงใด อยู่ที่ผู้เขียนบทละครเป็นสำคัญ ผู้เขียนบทจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เป้าหมายหลักคืออะไร ต้องการสื่ออะไรกับผู้ดู เช่น แนวคิด คติสอนใจ เป็นต้น

                         5. ผู้จัดการฝ่ายธุรการ (House Manager) เป็นฝ่ายจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับธุรกิจของโรงละคร จัดสถานที่แสดง ดูแลการจำหน่ายบัตรที่นั่ง รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้ดู

                        6. เจ้าหน้าที่เครื่องแต่งกายและแต่งหน้า (Costume & Make up) ต้องรู้ว่าฉากใด ผู้แสดงมีตัวละครกี่ตัว ใช้ชุดสีอะไรแบบไหน ส่วนเครื่องแต่งหน้าต้องเตรียมให้พร้อม และควรมีความสามารถในการแต่งหน้าตัวละครได้สมจริง เช่น แต่งหน้าในบทของคนชรา คนต่างชาติ คนที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

                          7. นักแสดง (Actor) คือ ผู้ที่สวมบทบาทเป็นตัวละคร เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ในบทละครมาสู่ผู้ชม

         ในบรรดาผู้ร่วมงานทางด้านการจัดแสดงละคร นักแสดงคือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ชมมากที่สุด ผลงานการสร้างสรรค์ของฝ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้เขียนบท ผู้กำกับการแสดง การออกแบบเครื่องแต่งกาย แต่งหน้าจะได้รับการถ่ายทอดมาสู่ผู้ชมโดยตรง โดยผ่านนักแสดง
ผู้ที่เป็นนักแสดง พึงคิดไว้เสมอว่า "ละครคือศิลปะที่รวมศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ความสำเร็จของละครอยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจของผู้ร่วมงานทุกฝ่าย" นักแสดงจึงไม่ควรเย่อหยิ่งหรือคิดว่าตนเป็นคนสำคัญแต่เพียงผู้เดียว และพึงระลึกเสมอว่าตัวละครในบทละครทุกตัวมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด นับตั้งแต่พระเอก นางเอก ผู้ร้าย ตัวประกอบ
         หน้าที่ของผู้แสดง เมื่อได้รับบทให้แสดงเป็นตัวอะไรไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ เช่น คนรับใช้ พี่เลี้ยง ทหาร ตำรวจ พยาบาล ประชาชน ก็ควรทุ่มเทฝึกซ้อมให้เต็มความสามารถ เพราะมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างสูงสุดที่มีต่อผู้ชม และเพื่อนร่วมงานทุกฝ่าย เพราะถ้าผู้แสดงไม่ตั้งใจแสดงก็เหมือนเป็นการทำลายผลงานของผู้เขียนบท ผู้กำกับการแสดง ผู้ออกแบบฝ่ายต่าง ๆ

ฉะนั้นนักแสดงจะต้องมีจิตสำนึกที่ถูกต้อง มิใช่รักแต่ความดังที่ได้รับเป็นตัวเอก นักแสดงที่ดีต้องอุทิศตนเพื่องาน สามารถแสดงได้ทุกบทบาท มองเห็นคุณค่าของการแสดงว่าเป็นศิลปะ และควรภูมิใจที่ได้รับเลือก ให้เป็นผู้แสดง ไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ ตัวร้าย ก็สามารถให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมได้เช่นกัน


(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.gotoknow.org/posts/292945)

เทคนิคการแสดงพื้นฐาน: ตอนที่ 1 การสร้างความเชื่อและการแสดงออก

ตอนที่ 1
การสร้างความเชื่อและการแสดงออก

การสร้างความเชื่อ

          การแสดงออกซึ่งกิริยาท่าทางของตัวละคร คือการสวมบทบาทของตัวละครในเรื่องนั้น ผู้แสดงจะต้องสร้างความเชื่อให้คนดูเกิดความเชื่อให้ได้ว่าตนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบฉากในเรื่อง เป็นเรื่องจริง ๆ การที่ผู้แสดงจะมีความสามารถตีบทได้อย่างสมจริงนั้น ผู้แสดงจะต้องศึกษาบทละคร ตัวละครที่ตนต้องแสดงอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม นับตั้งแต่บุคลิกลักษณะ นิสัยของตัวละคร กิริยาท่าทาง อารมณ์ของตัวละคร
          ในการสร้างความเชื่อให้กับผู้ชมละคร ผู้แสดงจะต้องมีสมาธิ รู้จักการใช้จินตนาการ เห็นภาพลักษณ์ และอุปนิสัยใจคอของตัวละครในบทละคร ถ้าผู้แสดงละครทำให้ผู้ชมเชื่อว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าเขานั้นเป็นเรื่องจริง แสดงว่าผู้แสดงละครผู้นั้นตีบทแตกได้อย่างสมจริงประหนึ่งว่าผู้แสดงกับตัวละครเป็นบุคคลเดียวกัน หรือกล่าวได้ว่าสามารถเข้าถึงศิลปะของการแสดงละคร

การแสดงร่วมกับผู้อื่น

          การแสดงละคร ผู้แสดงจะต้องแสดงร่วมกับตัวละครอื่น ๆ ในเรื่อง ฉะนั้นในการฝึกซ้อมละคร ผู้แสดงจะต้องฝึกการเจรจากับผู้ร่วมแสดง ไม่ควรท่องบทเพียงลำพังคนเดียว ทั้งนี้เพื่อจะได้สัมผัสกับปฏิกิริยาของตัวละครอื่น ๆ ผู้แสดงต้องแสดงทั้งบทรับ บทส่งตลอดเวลา การมีปฏิกิริยากับผู้อื่น เช่น การฟัง การแสดงกิริยาท่าทาง การรับรู้ด้วยการแสดงสีหน้า พอใจ ไม่พอใจ ดีใจ ยิ้ม หรือหน้าบึ้ง จะช่วยทำให้สามารถเข้าถึงบทบาทของตัวละครได้ลึกซึ้งขึ้น เวลาแสดงจริงจะได้สอดคล้องประสานกัน
          ในฉากที่มีตัวละครเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวประกอบประเภทสัมพันธ์บท เช่น แม่บ้าน คนรับใช้ คนสวนหรือตัวประกอบ ที่เสริมลักษณะเรื่องให้สมจริง อาทิ ประชาชน ทหาร ตำรวจ ไพร่พล ผู้แสดงต้องสื่อประสานได้ทั้งตัวละครที่เป็นตัวเอก ตัวสำคัญ และตัวประกอบ แม้ว่าตัวละครที่เป็นตัวประกอบจะไม่มีบทพูดแต่ก็ต้องแสดงบุคลิกลักษณะให้สมบทบาทตามเนื้อเรื่อง เพราะตัวละครที่แสดงอยู่บนเวทีต่อหน้าผู้ชม จะมีความสำคัญทุกตัว ผู้แสดงละครที่ดี นอกจากจะแสดงบทบาทของตนให้สมจริงแล้ว จะต้องมีทักษะและความสามารถในการร่วมแสดงกับผู้อื่นด้วย


(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.gotoknow.org/posts/292945)


เทคนิคการถ่ายวิดีโอ: ตอนที่ 5 ระบบและประเภทไฟล์วิดีโอ

ตอนที่ 5
ระบบและประเภทไฟล์วิดีโอ

ระบบวีดีโอในปัจจุบัน

ระบบวีดีโอ มีความสัมพันธ์กับการนำไฟล์วีดีโอไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งไฟล์วีดีโอนั้นต้องนำไปเปิดกับโทรทัศน์ หรือเครื่องเล่นอื่นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าของระบบในวีดีโอในขั้นตอนการตัดต่อด้วย ซึ่งแต่ละประเทศจะใช้ระบบไม่เหมือนกัน คือ
ระบบ PAL เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง แต่การเคลื่อนไหวไม่ค่อยราบรื่น โดยมีอัตราการแสดงภาพ (Frame Rate) 25 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในหลายประเทศ โดยประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
ระบบ NTSC เป็นระบบที่มีความคมชัดสู้ ระบบ PAL ไม่ได้ แต่การเคลื่อนไหวของภาพจะราบรื่นกว่าระบบ PAL เพราะมีอัตราการแสดงภาพ( Frame Rate ) 29.79 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ที่ประเทศญี่ปุ่น และอเมริกา
ระบบ SECAM เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง การเคลื่อนไหวของภาพมีความราบรื่น มีอัตราการแสดงผล ( Frame Rate ) 25 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในแถบแอฟริกา

รู้จักกับฟอร์แมตของไฟล์วีดีโอประเภทต่างๆ

– AVI เป็นไฟล์มาตรฐานทั่วไปของไฟล์วีดีโอ มีความคมชัดสูง แต่ข้อเสียคือมีขนาดใหญ่ สามารถนำไปทำเป็นวีซีดี หรือดีวีดี ก็ได้ โดยผ่านกระบวนการบีบอัดไฟล์ของโปรแกรมนั้นๆ เช่น Nero , NTI
– MPEG เป็นฟอร์แมตของไฟล์วีดีโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากไฟล์มีขนาดเล็ก และมีคุณภาพที่หลากหลาย ตั้งแต่คมชัดที่สุด ไปถึงอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ โดยมีหลายรูปแบบดังนี้


– MPEG – 1 เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ทำวีซีดี โดยมีขนาดที่เล็กมากที่สุด – MPEG – 2 เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ทำดีวีดี โดยไฟล์มีขนาดใหญ่ (แต่ไม่เท่า AVI) แต่คุณภาพในการแสดงผลมีความคมชัดสูง – MPEG – 4 เป็นไฟล์ที่กำลังได้รับความนิยมมากชึ้น เนื่องจากมีคุณภาพในการแสดงผลใกล้เคียงกับดีวีดี แต่เป็นไฟล์ขนาดเล็ก นิยมนำไปใช้ในโทรศัพท์มือถือ , อินเตอร์เน็ต – WMV เป็นฟอร์แมตมาตรฐานของ Windows มีคุณภาพที่ดีฟอร์แมตหนึ่ง นิยมนำมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต – MOV เป็นฟอร์แมตของโปรแกรม Quick Time ที่ใช้กับเครื่อง Apple แต่สามารถเปิดใน Windows ได้เช่นกัน – 3GP เป็นไฟล์ขนาดเล็ก นิยมใช้ในโทรศัพท์มือถือ


(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://krubeenan.wordpress.com)

เทคนิคการถ่ายถาพวิดีโอ: ตอนที่ 4 เทคนิคการถือกล้อง

ตอนที่ 4
เทคนิคการถือกล้อง

เทคนิคการเคลื่อนที่กล้องโดยไม่ให้สั่นไหว

การไวด์หรือ” Wide Shot” เป็นวิธีที่ช่วยอำพรางการสั่นไหวของกล้องได้ซึ่งแม้ว่ากล้องจะสั่น ภาพจะไหว แต่ก็ยังไม่เห็นความแตกต่างเพราะว่ามันมีภาพมุมกว้างที่หลอกตาอยู่ ถ้าหากต้องการที่จะเดินถือกล้องถ่ายแบบนี้ละก็ จะต้องเลือกระยะกล้องที่ไกลสุด โดยการดึงภาพด้วยการซูมออกมา เรียกว่าลองช็อต“(Long Shot) เป็นประคองกล้องเดินช้าๆแบบนุ่มนวล โดยไม่ต้องซูมเข้าไปอีก ควรปล่อยให้เป็นภาพมุมกว้างเข้าไว้

การเดินก็สำคัญหากมัวแต่เดินจำพรวดทิ้งน้ำหนักตัวแบบเต็มที่แบบนี้ภาพที่ได้จะกระตุกเป็นจังหวะแน่ๆก็ขอแนะนำให้การเดินถ่ายกล้องนั้นต้องระวังทุกฝีเท้า การเดินด้วยปลายเท้า เกร็งและย่อขาเล็กน้อยจะช่วยให้กล้องนิ่งและมั่นคงขึ้น ช่วยให้เดินถ่ายวิดีโอได้อย่างมีคุณภาพ ภาพที่ได้จะนิ่งการถือกล้องแบบแบกบ่า บางครั้งอาจจะไม่ถนัดสำหรับเดินถ่ายเสมอไป สามารถแก้ไขด้วยการลดกล้องมาอยู่ในมือ ในอ้อมแขนนั้นจะเป็นการดี เพราะช่วยประคองกล้องได้อีกชั้นด้วยซ้ำไป แถมอาจจะได้มุมที่แปลกตาไปจากการแบกบนบ่า

การถ่ายให้กระชับ

การถ่ายให้กระชับ หมายความว่า การถ่ายวิดีโอที่พยายามให้ภาพนั้นสื่อความหมายในตัวเองมากที่สุด โดยสามารถเล่าเรื่องราวได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร นี่จะช่วยให้เราไม่ต้องเก็บภาพมามากมายและยืดยาว ก็สามารถเข้าใจได้ว่าในเหตุการณ์นั้นๆเกิดอะไรขึ้นบ้าง



(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://krubeenan.wordpress.com)